เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 75. กิเลสทุกะ 5. สังสัฏฐวาร
75. กิเลสทุกะ 5. สังสัฏฐวาร
1. ปัจจยานุโลมเป็นต้น
[15] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะเกิด
ระคนกับโลภะ (พึงทำเป็นจักกนัย พึงเพิ่มเป็น 9 วาระ อย่างนี้)

เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 9 วาระ)

วิปากปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ

อนุโลม จบ
สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเพราะนเหตุปัจจัย
(โดยนัยนี้ พึงทำวาระแห่งนเหตุปัจจัยเป็น 4 วาระ)

นเหตุปัจจัย มี 4 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 1 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้ และสัมปยุตตวาร พึงทำอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :359 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[16] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตกิเลสโดยเหตุปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เหตุที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (พึงอ้าง
บทที่เป็นมูล) เหตุที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ กิเลส และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[17] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภกิเลส กิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภกิเลส สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภกิเลส กิเลสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
[18] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ
เป็นปัจจัยแก่ผลและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
และขันธ์ที่ไม่เป็นกิเลสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น
รูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :360 }